วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขุนช้างขุนแผน

วรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน



กำเนิดเสภาขุนช้างขุนแผน

การกำเนิดเสภาขุนช้างขุนแผน เริ่มมาจากขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่มีความยาวมาก ยากที่จะเล่าให้จบได้ในคราวเดียว แต่ก็มีผู้เห็นความสำคัญของกลอน อย่างเช่น ในบทอัศจรรย์ บทตัดพ้อ บทชมสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมของคนฟังนิทานในสมัยนั้น จึงมีผู้นำบทกลอนเหล่านั้นมาแต่งเป็นกลอนเฉพราะตอนที่อยากฟัง และเริ่มนำมาขับเสภาตั้งแต่นั้นมา
ลักษณะเด่นของขุนช้างขุนแผนที่ทำให้เป็นที่นิยม น่าจะเป็นเพราะใช้คำพูดที่หยาบโลน ทั้งๆ ที่นำไปขับในวังที่สมัยก่อน ถือเป็นสถานที่เคร่งครัดเรื่องการใช้คำพูด การที่คนในวังที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงทำให้เป็นเรื่องที่ชื่นชอบ จุดประสงค์ที่ผู้แต่งใช้คำหยาบโลน อีกอย่างน่าจะเป็นเพราะความเชื่อในเรื่องของการนั้นจะทำให้ปีศาจไม่กล้ามาลักพาตัวไป
หนังสือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มีสำนวนหลากหลายเนื่องจากมีผู้แต่งหลายคน ตั้งแต่สมัยอยุทธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงสามารถสื่อให้เห็นความคิด ค่านิยม และวิถีชีวิติขิงคนไทยในสมัยนั้นๆ ได้ดี เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเป็นสำนวน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)



ตัวอย่างโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏในเรื่อง
ภาพพจน์อุปลักษณ์
เต่าเตี้ยดอกอย่าต่อให้ตีนสูง มิใช่ยูงอย่ามาย้อนให้เห็นขัน
หิ่งห้อยหรือจะแข่งแสงพระจันทร์ อย่าปั้นน้ำให้หลงตะลึงเงา
(ตอนนางวันทองด่าขุนช้าง)
ภาพพจน์อุปมา
เห็นคนนอนล้อมอ้อมเป็นวง ประตูลั่นมั่นคงขอบรั้วกั้น
กองไฟสว่างดังกลางวัน หมายสำคัญตรงมาหน้าประตู
(ตอนจมื่นไวยขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อพามารดาไปอยู่ด้วย)
ภาพพจน์อติพจน์
ครานั้นขุนช้างได้ฟังว่า แค้นดังเลือดตาจะหลั่งไหล
ดับโมโหโกรธาทำว่าไป เราก็ไม่ว่าไรสุดแต่ดี
(ขุนช้างทราบว่าจมื่นไวยมาพาตัวนางวันทองไปอยู่ด้วย)
ภาพพจน์สัทพจน์
ใต้เตียงเสียงหนูก็กุกกก แมงมุมทุ่มอกที่ริมฝา
ยิ่งหวาดหวั่นพรั่นตัวกลัวมรณา ดังวิญญาณ์นางจะพรากไปจากกาย
(นางวันทองตื่นจากฝันร้าย)
การบรรยายโวหาร ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว
เชิงเปรียบเทียบ
อีวันทองตัวมันเหมือนแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้
สัมผัสแบบกลอนแปด
ครานั้นพระองค์ทรงธรณินทร์ หาได้ยินวันทองทูลขึ้นไม่
พระตรัสความถามซักไปทันใด ฤามึงไม่รักใครให้ว่ามา
กวีแทรกอารมณ์ขันในการแต่ง
ขุนช้างเห็นข้าไม่มาใกล้ ขัดใจลุกขึ้นทั้งแก้ผ้า แหงนเถ่อเป้อปังยืนจังกา ย่างเท้าก้าวมาไม่รู้ต้ว ยายจันงันงกยกมือไหว้ นั่นพ่อจะไปไหนพ่อทูนหัว ไม่นุ่งผ่อนนุ่งผ้าดูน่ากลัว ขุนช้างมองดูตัวก็ตกใจ

การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม
๑. ลักษณะทางสังคม ยกตัวอย่างเช่น ตอนขุนช้างถวายฎีกา เป็นตอนที่ชะตาชีวิตของนางวันทองตกต่ำถึงที่สุด คือ ถูกพระพันวษาพิพากษาให้ประหารชีวิต ซึ่งจะเป็นตอนที่มีหลากหลายอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในสถานภาพใดในสังคม กษัตริย์ สามี ภรรยา มารดา บุตร ตัวละครในตอนนี้แทบทุกคัวมีบทบาทสำคัญ แต่ที่เด่นที่สุดมี ๒ ตัว คือ สมเด็จพระพันวษาและ นางวันทอง จากเนื้อเรื่องผู้ที่น่ารเห็นใจไม่เพียงแต่นางวันทองเท่านั้น สมเด็จพระพันวษาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่น่าเห็นใจ เนื่องจากฝ่ายหนึ่งถูกสั่งประหารและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายสั่งประหารชีวิต
๒. แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
๒.๑ ฐานะและบทบาทของสตรีในสังคม นางวันทองเป็นตัวอย่างของสตรีไทยสมัยโบราณโดยแท้ คือเกิดมาเพื่อรับบทของบุตรี ภรรยาและมารดา ตามที่ธรรมชาติและสังคมเป็นผู้กำหนด และเมื่อต้องรับบทพลเมืองก็เป็นพลเมืองตามที่ผู้ปกครองพึงปรารถนาให้เป็น เนื่องจากนางวันทองไม่มีโอกาสเลือก อาจได้แต่เพียงคิดแต่ไม่เคยได้ปฏิบัติตามที่คิด นางวันทองถูกกำหนด เส้นทางของชีวิตให้เป็นไปตามความต้องการของคนอื่นทั้งสิ้น ความเคยชินจากการเป็นผู้ปฏิบัติตาม เมื่อสมเด็จพระพันวษาทรง เปิดโอกาสให้นางเลือกทางเดินของชีวิตตนเอง นางก็ว้าวุ่นใจไม่อาจตัดสินใจได้ จึงก่อให้เกิดเหตุการณือันเสร้าสะเทือนใจในที่สุด
๒.๒ บทบาทของกษัตริย์ต่อประชาชนในสังคมไทย สมเด็จพระพันวษานั้น ถ้าจะพิจารณาอย่างละเอียด ก็จะเห็นได้ว่าแม้จะทรงเป็นเจ้าชีวิต มีพระราชอำนาจอันล้นพ้น แต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจอย่างปราศจากเหตุผลหรือด้วยพระอารมณ์ หากได้ ทรงปฏิบัติอย่างเหมาะสม และทรงมีพฤติกรรมไปในทางที่สมเหตุสมผลที่สุด เนื่องจากต้องแก้ไขปัญหาระดับประเทศแล้วยังต้องแก้ไขปัญหาระดับครอบครัวของประชาชน เปรียบเหมือนพ่อหรือผู้ใหญ่ในครอบครัว เวลาคนในครอบครัวมีเรื่องเดือดร้อนหรือ เกิดเหตุการณ์วุ่นวายและมาฟ้อง ก็ต้องทรงเป็นราชธุระ
๒.๓ ค่านิยมและความเชื่อเกี่ยวกับสตรี สังคมไทยไม่นิยมสตรีเยี่ยงนางวันทอง คือมีสามีสองคน ในเวลาเดียวกัน แม้โดยแท้จริงแล้วการที่มีสามีสองคนนั้นมิใช่เกิดจากความปรารถนาของนางเอง แต่จุกนี้สังคมกลับมองข้าม เห็นแต่เพียงผิวเผินว่านางน่ารังเกียจ
ในทางตรงกันข้าม ค่านิยมเกี่ยวกับการมีภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน กลับปรากฎในหมู่คนชั้นสูง โดยฌฉพาะ ผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์ของไทย แต่สังคมไม่รังเกียจ กลับนิยมยกย่อง เพราะค่านิยมกำหนดว่าลักษระเช่นนี้เป็นเครื่องเสริมบารมีและความเป็นบุรุษอาชาไนยให้มากยิ่งขึ้น

การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์
สะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้นและสะเทือนใจ
...ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ ฉวยได้กระดานชะนวนมาร่างฟ้องท่องเทียบให้เรียบร้อย ถ้อยคำถี่ถ้วนเป็นหนักหนา...
มีการพรรณณาถึงเรื่องฝันร้าย
...ครั้งนี้น่าจะมีอันตราย ฝันร้ายสาหัสตัดตำราพิเคราะห์ดูทั้งยามอัฐกาล ก็บันดาลฤกษ์แรงเป็นหนักหนามิรู้ที่จะแถลงแจ้งกิจจา กอดเมียเมินหน้าน้ำตากระเด็น...
ใช้ถ้อยคำเกิดความเศร้าสะเทือนใจสงสารในชะตากรรมของตัวละคร
...วันนี้แม่จะลาพ่อพลายแล้ว จะจำจากลูกแก้วไปสูญสิ้นพอบ่ายก็จะตายลงถมดิน ผินหน้ามาแม่จะขอชมเกิดมาไม่เหมือนกับเขาอื่น มิได้ชื่นเชยชิดสนิทสนม......ร่ำพลางนางกอดพระหมื่นไวย น้ำตกไหลซบเซาไม่เงยหน้าง่วงหงุบฟุบลงกับพสุธา กอดลูกยาแน่นิ่งไม่ติงกาย ฯ

ตัวอย่างบทเปรียบเทียบในเรื่อง
ทองประศรีห้ามขุนแผนเกี่ยวข้องกับวันทอง
วันทองหมองแม้นเหมือนแหวนเพชร แตกเม็ดกระจายสิ้นเป็นสองสาม
จะผูกเรือนก็ไม่รับกับเรือนงาม แม่จึงห้ามหวงเจ้าเพราะเจ็บใจ
ขุนแผนพูดตัดพ้อวันทอง
เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้ มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้
กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา
ตัวอย่างบทที่แทรกสุภาษิต

นางพิมพูดกับนางสายทอง
อดเปรี้ยวกินหวานตระการใจ ลูกไม้หรือจะสุกไปก่อนห่าม
นางพิมพูดกับพลายแก้ว
อดข้าวดอกนะเจ้าชีวิตวาย ไม่ตายดอกเพราะอดเสน่หา
นางวันทองพูดกับพลายงาม
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอุดส่าห์ทำสม่ำเสมียน

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนฉบับที่รวบรวมชำระเป็นเล่มในปัจจุบันมีทั้งสิ้น ๔๓ ตอน มีอยู่ ๘ ตอนที่วรรณคดีสมาคม ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นประธาน ได้ลงมติไว้ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ ว่าแต่งดีเป็นยอดเยี่ยม ได้แก่
๑. ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม
๒. ตอนขุนช้างขอนางพิม
๓. ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง
๔. ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี
๕. ตอนกำเนิดพลายงาม
๖. ตอนขุนช้างถวายฎีกา
๗. ตอนฆ่านางวันทอง
๘. ตอนพระไวยถูกเสน่ห์
ตัวละครสำคัญในเรื่อง
นางวันทอง
นางพิมพิลาไลยเป็นหญิงรูปงามแต่ปากจัดเป็นบุตรของพันศรโยธาและนางศรีประจัน ต่อมาได้แต่งงานกับพลายแก้วซึ่งภายหลังมีลูกชายด้วยกัน คือ พลายงาม และได้เปลี่ยนชื่อเป็นนางวัน ต่อมานางถูกแม่บังคับให้แต่งงานใหม่กับขุนช้างทำให้ถูกประนามว่าเป็นหญิงสองใจ นางวันทองเป็นคนที่ไม่กล้าที่จะตัดสินใจ เมื่อมีคดีฟ้องร้องถึงสมเด็จพระพันวษา ซึ่งพระองค์ให้นางเลือกว่าจะอยู่กับใครแต่นางตัดสินใจไม่ถูกจึงถูกสั่งประหารชีวิต นางวันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จาก ถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยความดีของขุนช้างและความผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย นางวันทองยังเป็นแม่ที่ดี คือเมื่อเห็นลูกกำลังกระทำผิดก็ไม่เห็นดีเห็นงามด้วย ดังจะเห็นได้จากตอนที่พลายงามบุกขึ้นเรื่อนขุนช้างในยามวิกาล นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น ขุนแผน
ขุนแผนเดิมชื่อพลายแก้วเป็นบุตรของขุนไกรพลพ่ายและนางทองประศรีมีรูปร่างหน้าตางดงามคมสัน สติปัญญาเฉลียวฉลาด ด้วยลักษณะนิสัยเป็นคนเจ้าชู้และมีคารมคมคาย จึงง่ายต่อการพิชิตใจหญิงสาวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของพลายแก้ว มีดาบฟ้าฟื้นเป็นอาวุธประจำตัว พาหนะคู่ใจคือม้าสีหมอก ได้บวชเณรและเรียนวิชาที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลยจนสุดท้ายไปเป็นศิษย์สมภารคง วัดแค มีความรู้ทางโหราศาสตร์ ปลุกผี อยู่ยงคงกระพันคาถามหาละลวยทำให้ผู้หญิงรักตลอดจนวิชาจากตำรับพิชัยสงคราม และยังมีความสามารถเทศนได้ไพเราะจับใจอีกด้วย ต่อมาสึกจากเณรแล้วแต่งงานกับนางพิมพาลาไลย ไม่นานก็ถูกเรียกตัวไปเป็นแม่ทัพรบกับเชียงใหม่ ครั้นได้ชัยชนะกลับมาก็ได้เป็นขุนแผนแสนสะท้านแต่ปรากฎว่าภรรยาแต่งงานใหม่กับขุนช้าง ภายหลังขุนแผนต้องโทษถูกจำคุกถึง ๑๕ ปี จึงพ้นโทษ และทำสงครามกับเชียงใหม่อีกครั้งเมื่อชนะกลับมาก็ได้ตำแหน่งเป็นพระสุรินทรฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี.
ขุนช้าง
ขุนช้างมีลักษณะรูปชั่วตัวดำหัวล้านมาแต่กำเนิด นิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบายเป็นบุตรของขุนศรีวิชัยและนางเทพทองซึ่งมีฐานะร่ำรวยมาก ขุนช้างแม้จะเกิดมาเป็นลูกเศรษฐีแต่ก็อาภัพถูกแม่เกลียดชังเพราะอับอายที่มีลูกหัวล้าน จึงมักถูกแม่ด่าว่าอยู่เสมอและไม่ว่าจะเดินไปทางใดก็จะเป็นที่ขบขันล้อเลียนของชาวบ้านทั่วไปเสมอ พอเป็นหนุ่มก็ได้นางแก่นแก้วเป็นภรรยาอยู่ด้วยกันได้ปีกว่านางก็ตาย จึงหันมาหมายปองนางพิมพิลาไลยแต่นางไม่ยินดีด้วยและได้แต่งงานกับพลายแก้ว แต่ขุนช้างก็ยังไม่ลดความพยายามคงใช้อุบายจนได้แต่งงานกับนางสมใจปรารถนา ข้อดีของขุนช้าง คือรักเดียวใจเดียวและเลี้ยงดูนางวันทองเป็นอย่างดีทำให้นางวันทองเริ่มเห็นใจขุนช้าง
สมเด็จพระพันวษา
สมเด็จพระพันวษา เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ยุคนี้เป็นยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งรือง มีความอุดมสมบูรณ์ราษฎรทั้งหลายอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข บรรดาประเทศใกล้เคียงก็อ่อนน้อม เพราะยำเกรงบารมี สมเด็จพระพันวษามีนิสัยโกรธง่าย จะเห็นได้จากตอนที่ ให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร นางมีความลังเล เลือกไม่ได้ว่าจะอยู่กับใคร พระพันวษาทรงโกรธจึงรับสั่งให้ประหารชีวิต แต่พระองค์ก็นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความยุติธรรมต่อพวกทหาร เสนาอำมาตย์ และราษฎรพอสมควร เมื่อมีคดีฟ้องร้องกัน ก็จะให้มีการไต่สวน และพิสูจน์ความจริง
พลายงาม
พลายงาม มีตำแหน่งราชการเป็น จมื่นไวยวรนาถ ซึ่งมักเรียกสั้นๆ ว่า พระไวย หรือหมื่นไวย เป็นลูกของขุนแผนกับ นางวันทอง แต่ไปคลอดที่บ้านของขุนช้าง ยิ่งโตพลายงามก็ยิ่งละหม้ายคล้ายขุนแผนมาก มีอุปนิสัยความสามารถคล้ายขุนแผน ข้อดีของพลายงามคือมีความสามารถในการออกรบทำศึกสงคราม พลายงามมีความกตัญญู ตอนที่พลายงามไปช่วยพ่อขุนแผนที่คุกโดยอาสาขอให้พ่อขุนแผนไปทัพด้วยและได้ชัยชนะกลับมา ทำให้พระพันวษายกโทษให้ ข้อเสียของพลายงาม คือ เป็นถึงขุนนางแต่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม คือตอนที่ว่าพลายงามบุกขึ้นเรื่อนขุนช้างในยามวิกาลเพื่อที่จะลักพาตัวแม่วันทองมาอยู่ด้วยทำให้ขุนช้างโกรธจึงฟ้องถวายฎีกาและยังมีความเจ้าชู้ ตอนที่ว่าพลายงามได้นางสร้อยฟ้าและนางศรีมาลาเป็นเมีย แต่เจ้าชู้น้อยกว่าขุนแผน